วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัตถุประสงค์

   เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดไป
โดยมีประโยชน์ต่อตัวเรา ทำให้เราปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ และยังช่วยลดต้นทุนและประหยัดค่าใช้จ่าย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

เนื่องจากพวกเราได้เรียนเรื่องการลดใช้พลังงานสิ่งแวดล้อม คุณครูมีภาระงานให้พวกเราทำ คือ คิดค้นนวัตกรรมพลังงานสะอาดโดยนำความรู้ที่เรียนในห้องเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จัดทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ส่งซึ่งในปัจจุบันเกิดการสิ้นเปลืองพลังงานทำให้เกิดมลภาวะ และวิกฤตการณ์ต่างๆ กลุ่มดิฉันจึงคิดค้นวิธีการหุงข้าวโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
หม้อหุงข้าวพลังงานแสงอาทิตย์
แม้ ว่าปัจจุบันเราจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนกันมาก ขึ้นก็ตาม แต่ชื่อของ "หม้อหุงข้าวพลังงาน แสงอาทิตย์" สิ่งประดิษฐ์ดี ๆ ที่ไม่เป็นพิษภัยกับโลกเครื่องนี้ก็ยังอาจไม่คุ้นหูคนไทยอีกหลายคนที่พลาด

         หม้อหุงข้าวพลังงานแสงอาทิตย์เครื่องนี้เป็นผลงานคิดค้นของคณะพลังงานและ วัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถหุงข้าวได้ 500 กรัม การหุงหนึ่งครั้งสามารถรับประทานได้ 4 คนสบาย ๆ ส่วนผสมจะใช้ข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 3 ส่วน ผู้หุงเพียงเทส่วนผสมลงในถาดอะลูมิเนียมที่จัดเตรียมไว้แล้วนำไปวางกลางแดด จากนั้นให้กางแผ่นรับพลังงานแสงอาทิตย์ทำมุม 15 องศา กระจกจะสะท้อนพลังงานความร้อนจากแสงแดดลงสู่ถาดอะลูมิเนียม ใช้เวลาประมาณ 1 -2 ชั่วโมง ก็จะได้ข้าวสวยหอมกรุ่นมาทานกันแล้ว
พลังงานที่เกิดจากแสง รูปแบบการนำพลังงานของแสงอาทิตย์มาใช้งาน แบ่งอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 รูปแบบ ขึนอยู่กับวิธีการในการจับพลังงานแสง การแปรรูปให้เป็นพลังงานอีกรูปหนึ่ง และการแจกจ่ายพลังงานที่ได้ใหม่นั้น รูปแบบแรกเรียกว่า แอคทีพโซลาร์ เป็นการใช้วิธืการของ โฟโตโวลตาอิคส์ หรือ solar thermal เพื่อจับและเปลี่ยนพลังงานของแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อนโดยตรง อีกรูปแบบหนึ่งก็คือ พาสซีฟโซลาร์ เป็นวิธีการใช้ประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่ การออกแบบอาคารในประเทศหนาวให้รับแสงแดดได้เต็มที่ หรือ การติดตั้งวัสดุที่ไวต่ออุณหภูมิ thermal mass เพื่อปรับสมดุลของอากาศในอาคาร หรือติดตั้งวัสดุที่มีคุณสมบัติกระจายแสง หรือการออกแบบพื้นที่ว่างให้ อากาศหมุนเวียนโดยธรรมชาติ

หลักการง่ายๆของหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์

หลักการง่ายๆของหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ มีดังนี้

1.แสงแดดเป็นพลังงานแบบคลื่นสั้น (Short wave) มีพลังงานแฝงมาในตัว เมื่อตกกระทบวัตถุที่อยู่ภายในกล่องซึ่งมีฝาปิดเป็นกระจกใส 2 ชั้น จะเปลี่ยนเป็นคลื่นยาว (Long wave) ทำให้วัตถุนั้นๆเกิดความร้อน

2.พลังงานความร้อนที่เป็นคลื่นยาว ไม่สามารถผ่านกระจกออกไปภายนอกจึงทำให้เกิดความร้อนสะสมอยู่ภายในกล่อง เรียกว่า "ปฏิกริยาเรือนกระจก"

3.กล่องดังกล่าวมีฉนวนทำด้วยโฟมหุ้มอย่างดี ความร้อนจึงสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทำให้ข้าวหอมมะลิที่แช่น้ำ (ในปริมาณที่เหมาะสม) บรรจุอยู่ในกล่องโลหะทาสีดำ (ใช้กล่องข้าวนักเรียน) ดูดความร้อนและน้ำร้อนเข้าไปในตัวทำให้ข้าวสุก และน้ำก็แห้งพอดี ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง เรียกว่าหุงเช้ากินเที่ยง หุงเที่ยงกินเย็น และเหลือเก็บไว้เช้ากินต่อได้โดยอุ่นด้วยแสงแดดตอน 7 โมงกว่าๆ

อุปกรณ์

วัสดุอุปกรณ์
1.กล่องลังเบียร์
2.อลูมิเนียมฟลอย
3.หม้อ
4.สีน้ำ (ดำ)
5.ข้าว
6.น้ำสะอาด
7.ถุงพลาสติก
8.กาว

วิธีการดำเนินการ

1.ขยายแบบแล้วคัดลอกลงบนแผ่นพลาสติกกล่องลังเบียร์
2.ตัดแผ่นกล่องลังเบียร์ตามแบบ ใช้สันใบมีดคัตเตอร์กรีดตามรอยเส้นสำหรับพับ
3.อีกด้านหนึ่ง(ตรงข้ามกับด้านที่กรีดด้วยคัตเตอร์)ทากาวแล้วติดแผ่นอลูมิเนียมฟลอย
4.พับแผ่นกล่องลังเบียร์ที่ติดแผ่นอลูมิเนียมฟลอยแล้วตามรูป
5.ที่ช่องสลอตให้เอาปีกใส่แล้วกลัดด้วยไม้จิ้มฟันหรือตะปูตัวเล็กเพื่อกันหลุด

ทำให้เราสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

1.รวบรวมหลักการต่างๆที่เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ เช่น การเผาไหม้
2.ทำให้เราสามารถใช้พลังงานในการหุงข้าวได้ 

















นางสาว ศุภรดา กระจ่าง ม.6/4  เลขที่ 4 
นางสาว ณัฐวรรณ เครือเอม  ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาว อัญชนา สมยาโลน  ม.6/4 เลขที่ 19
นางสาว นิรัชชลา พวงทอง  ม.6/4 เลขที่ 22
นางสาว ศรัญญา คล้ายโพธิ์ทอง  ม.6/4 เลขที่ 30

ประโยชน์ที่ได้รับ

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.รู้จักกลไกการทำงานของแสงอาทิตย์
2.ทำให้รู้ว่าเราควรใช้ปริมาณของแรงดันลมเท่าใด
3.ประหยัดพลังงาน
4.มีเวลาเพิ่มขึ้น
5.ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
6.ประหยัดเงิน